วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคนิดการแต่งรูป




ภาพให้สวยเนียนขึ้น? ทำอย่างไร

วิธีที่ 1)  ใช้เครื่องมือ  Clone Stamp Tool

Clone Stamp อีกหนึ่งเครื่องมือยอดนิยมที่ใช้กันบ่อยจริงๆในการรีทัชภาพโดย Photoshop วันนี้เราจะมาลองใช้เครื่องมือตัวนี้กัน
เครื่องมือในการรีทัชภาพมีอยู่หลายตัว โดยเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้กันบ่อยในการลบสิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งที่ไม่ต้องการบนภาพ ก็คงจะเป็น Healing Tool และ Clone Stamp
ลองดูเทคนิคการใช้ Healing Tool ได้
สำหรับวันนี้เราจะมาลองใช้ Clone Stamp กัน นะ  เริ่มจากเตรียมภาพที่ต้องการขึ้นมาก่อน โดยเราจะเลือกภาพเด็กน้อยที่มีรูปปลาโลมาเขียนอยู่บนใบหน้า ซึ่งเราจะลบเจ้าปลาโลมานี้ออกกัน






ขั้นที่ 1
เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ แล้วเลือกเครื่องมือ Clone Stamp จาก Toolbar แล้วเลือกหัวแปรงและขนาด โดยจากตัวอย่าง เรากำลังทำงานบนภาพที่มีขนาด 352×288 pixels ผมเลือกหัวแปรงฟุ้งขนาด 21px


ขั้นที่ 2
กดปุ่ม Alt ค้างไว้ แล้วคลิกบริเวณ ที่ต้องการให้เป็นต้นแบบ จะสังเกตว่าเคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นรูปเครื่องหมายบวกล้อมรอบด้วยวงกลม จากนั้นปล่อยเมาส์และปุ่ม Alt แนะนำว่าให้พยายามเลือกให้ใกล้กับพื้นที่ที่เราจะแก้ไข











ขั้นที่ 3
คลิกเมาส์ซ้ายบริเวณตัวปลาโลมา โดยค่อยๆคลิกจนตัวปลาโลมาหายไปหมด






และนี่คือผลลัพธ์ของงานของเรา















วิธีที่ 2)  ใช้เครื่องมือ  Healing brush tool
 

วิธีการลบสิว และริ้วรอย

เทคนิค ในวันนี้ เราจะมาลองใช้เครื่องมือที่ใช้กันบ่อยในการรีทัชภาพ เพียงคลิกปุ่มเดียว สิว ฝ้า ไฝ หรือ จุดเล็กๆที่ไม่ต้องการก็จะหายไปด้วย Healing Tool
 



ขั้นที่ 1   เปิดภาพที่ต้องการจะแก้ไขออกมา








ขั้นที่ 2
เลือกเครื่องมือ Healing Tool ผมได้เขียนภาพรวมของเครื่องมือตัวนี้ไว้ด้วย ลองเข้าไปอ่านได้นะครับที่ รู้จักกับ Healing Tool
เมื่อคลิกที่ Healing Tool ค้างไว้ประมาณ 2 วินาที เราก็จะเห็นเครื่องมือย่อย 4 ตัว ซึ่งผมจะใช้เครื่องมือตัวแรกนะครับ Spot Healing Brush Tool แล้วปรับขนาดแปรงให้ใหญ่กว่าหรือใกล้เคียงกับขนาดของสิ่งที่เราจะลบ ในที่นี้ผมใช้ที่ 8-12 pixels




ขั้นที่ 3
จาก นั้นก็คลิกที่ไฝหรือสิวหรือริ้วรอยของนางแบบได้เลย Photoshop ก็จะทำการเกลี่ยสีบริเวณที่คลิกให้ดูใกล้เคียงกันโดยอัตโนมัติ เป็นอันเสร็จครับ ง่ายมั้ยหล่ะ
เรายังสามารถใช้เครื่องมือย่อยของ Healing Tool ได้อีกนะครับ โดยคลิกที่ Healing Brush Tool จากนั้นกดปุ่ม Alt ค้างไว้แล้วคลิกตำแหน่ง Source หรือจะเรียกว่าตำแหน่งที่เราจะเก็บค่าสีตั้งต้นไว้ จากนั้นปล่อยมือ แล้วก็ไปคลิกที่ตำแหน่งไฝ ก็จะได้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งเช่นกัน
ลองใช้กันดูนะครับ



3. ใช้เครื่องมือ Blur Tool เพื่อความเนียนยิ่งขึ้น






เสร็จเรียบร้อยย














































เทคนิคการถ่ายรูป


ภาพซิลูเอต (Silhouette) พูดง่ายๆก็คือ ภาพเงาดำ นั่นเอง โดยลักษณะของภาพแบบนี้ก็คือเราจะเห็นวัตถุในภาพเป็นเพียงรูปทรงสีดำ ไม่มีรายละเอียดอะไรในรูปทรงนั้นๆ ภาพแบบนี้เราสามารถถ่ายทำได้ง่ายๆ แม้กระทั่งคนที่ถ่ายภาพไม่เป็นก็ทำได้บ่อยๆ (เผลอๆจะบ่อยกว่าพวกที่ถ่ายรูปเป็นด้วยซ้ำ)
วิธีการก็คือ ให้เราถ่ายภาพย้อนแสงนั่นเอง ไม่ต้องฟิลแฟลชนะครับ เดี๋ยวจะไม่ได้ภาพเงาดำ ถ้าหากเราต้องการความดำแบบชัวร์ๆ ก็สามารถทำได้โดยใช้การวัดแสงเฉพาะจุด แล้ววัดแสงที่ฉากหลัง กล้องจะถ่ายรูปที่ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงจนแสงสำหรับตัวแบบของเราไม่พอ จึงดำไงครับ
แล้วทำไมเราต้องถ่ายภาพซิลูเอตล่ะ?
เหตุผลนั้นมีหลายประการครับ เช่น เราต้องการนำเสนอรูปทรงที่น่าสนใจของวัตถุต่างๆ เราก็สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบซิลูเอต เพื่อให้จุดสนใจอยู่ที่รูปทรงอย่างเดียว ผู้ชมไม่ต้องวอกแวกไปกับรายละเอียดของตัวแบบ หรือ ตอนถ่ายภาพนั้นไม่มีอุปกรณ์เสริมที่เพียงพอ เช่น ไปถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก ไม่มีฟิลเตอร์ GND ก็ถ่ายเป็นรูปซิลูเอตมาก็สวยได้ หรือ ตอนถ่ายรูปแฟนย้อนแสงแล้วลืมเปิดแฟลชหรือวัดแสงผิดที่ เวลาแฟนถามว่าทำไมถ่ายมาดำ เราก็บอกว่าพอดีเห็นทรวดทรงตัวเองเซ็กซี่ดี ก็เลยนำเสนอรูปทรงน่ะ ฮ่าๆๆๆ เอาล่ะครับ มาลองชมรูปตัวอย่าง เผื่อไว้ใช้เป็นไอเดียกันนะครับ



การถ่ายภาพบุคคลด้วยแสงธรรมชาติ


การถ่ายภาพบุคคลให้สวยนั้น เพื่อนๆอาจจะนึกถึงการถ่ายรูปบุคคลในสตูดิโอที่ต้องใช้อุปกรณ์และผู้คน เกี่ยวข้องมากมาย ไม่ว่าจะเป็นช่างแต่งหน้า-ทำผม, ผู้ช่วยช่างภาพ และสตูดิโอขนาดใหญ่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ราคาแพงๆ แต่จริงๆแล้วเราสามารถถ่ายภาพบุคคลให้สวยได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์อันหรูหราและแสนแพงเหล่านั้นเลย
การถ่ายภาพบุคคลให้ดูดีแบบมืออาชีพนั้นสามารถทำได้ใช้ วิธีการถ่ายทำง่ายๆ โดยการใช้แสงธรรมชาติที่ส่องผ่านหน้าต่างของห้องนั่นเอง ส่วนเงาเข้มที่เกิดขึ้นบนใบหน้านั้นเราสามารถทำให้จางลงได้โดยการสะท้อนแสง โดยใช้แผ่นโฟมสีขาว เมื่อคุณใช้แสงจากหน้าต่างเป็นแสงหลัก และคุณใช้แผ่นโฟมสีขาวสะท้อนแสงช่วยเปิดเงา ภาพที่ได้จะมีความสมดุลย์ของแสงเงาและดูเป็นมืออาชีพมากๆ ทดลองหลายๆแบบทั้งมุมสะท้อนของแผ่นโฟมและระยะห่างจากแบบ และสังเกตภาพที่เกิดจากระยะระหว่างกล้องและแบบที่ต่างๆกันด้วย
ลองทดลองในการวางตำแหน่งของตัวแบบ สังเกตรูปแบบของแสงที่ตกกระทบใบหน้าซึ่งจะทำให้ตัวแบบดูแก่ขึ้นหรือเด็กลง ซึ่งจะเกิดจากมุมตกกระทบและความเข้มของแสง โดยเริ่มแรกลองให้แบบหันหลังให้กับหน้าต่างและสะท้อนแสงกลับไปที่ใบหน้า จะทำให้เราได้แสงนุ่มๆที่ทำให้ใบหน้าดูดีขึ้นมา จากนั้นลองให้แบบหันประมาณ 45 องศากับแสงและสังเกตผลที่ได้ จากนั้นทำการปรับแต่งแสงตามสถานการณ์

มีกฏเก่าๆข้อหนึ่งที่คุณควรจะลืมไปซะ นั่นคือการให้แสงส่องมาทางไหล่ซ้ายของแบบและตกกระทบใบหน้า ซึ่งการให้แสงแบบนี้จะทำให้เราได้ภาพที่สวยแต่ล้าสมัยแล้ว
แบบที่สองลองถ่ายรูปในแบบที่แสงอาทิตย์ส่องมาจากด้านหลังของแบบ หากเราวัดแสงจากฉากหลังของแบบภาพที่ได้จะมีฉากหลังที่แสงถูกต้องสวยงาม แต่ตัวแบบจะเป็นเงาดำ ซึ่งภาพแบบนี้เราเรียกว่า “ภาพซิลูเอ็ด (Silhouette)” และหากเราวัดแสงให้ถูกต้องที่ใบหน้าของแบบ จะได้ภาพที่ใบหน้าของแบบถูกต้องแต่ฉากหลังจะสว่างขาวไม่มีรายละเอียดใดๆหลง เหลือ

วิธีการแก้ปัญหานี้ง่ายๆ คือ การตบแฟลช (Fill Flash) ซึ่งผมได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้แล้ว หรือคุณสามารถใช้แผ่นสะท้อนแสงกลับไปที่ใบหน้าของแบบ หากคุณไม่แน่ใจว่าแสงจะเพียงพอหรือไม่ ให้ลองถ่ายภาพแล้วเช็คฮีสโตแกรมดูว่าคุณได้ภาพที่ดีไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่ง สว่างเกินไป (Highlight) และพึงระวังในการถ่ายรูปย้อนแสงคืออาจจะเกิดแฟลร์ขึ้นในภาพได้ (แต่บางครั้งแฟลร์ก็ทำให้ภาพดูดีขึ้นมาได้)




เทคนิคการถ่ายรูปบุคคล

เมื่อคุณเริ่มคุ้นเคยกับกล้องถ่ายรูปของคุณ ผมเชื่อว่าหลายๆท่านจะพบว่าตัวเองเริ่มถ่ายรูปบุคคล (Portrait Photography) การถ่ายรูปบุคคลนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงการถ่ายรูปติดบัตรหรือรูปในใบ ประกาศจับเท่านั้นนะครับ แต่มันยังสามารถเป็นรูปถ่ายโคลสอัพดวงตาของสาวสวย หรือแม้กระทั่งรูปของพ่อค้าเนื้อหลังเขียงของเขาก็ได้
รูปบุคคลนั้นสามารถเป็นได้ในหลายรูปทรงและขนาด ซึ่งคุณควรจะลองถ่ายรูปบุคคลหลายๆแบบ สิ่งที่สำคัญที่คุณควรจะพึงระลึกถึงเสมอก็คือ มีคนที่สำคัญสองคนในการถ่ายรูปบุคคล คือ ตัวช่างภาพและนาย/นางแบบนั่นเอง คุณจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับแบบเพื่อให้ได้รูปบุคคลที่ดีนั่นเอง
โดยทั่วๆไปการถ่ายรูปบุคคลนั้นมีอยู่ 3 ประเภทคือ
  1. ภาพโคลสอัพใบหน้าถึงครึ่งตัว
  2. ภาพบุคคลเต็มตัว
  3. ภาพบุคคลกับสถานที่ต่างๆ


    โดยมากแล้วจะเป็นภาพที่ใบหน้าของแบบนั้นเต็มเฟรม โดยมีฉากหลังเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย วัตถุประสงค์ก็เพื่อแสดงถึงความสวยงามของใบหน้าหรือส่วนของใบหน้าของแบบนั่น เอง โดยการใช้แสงนั้นสำคัญมากสำหรับภาพประเภทนี้ ตัวอย่างเช่น แสงที่มีทิศทางแน่นอน (Directional Light) จะดึงรายละเอียดและรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าออกมา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพเพื่อการศึกษา ส่วนแสงนุ่ม (Soft Light) จะให้ภาพที่ดูสวยงามมากกว่า เพราะจะช่วยซ่อนริ้วรอยและตำหนิอื่นๆบนใบหน้าได้ดีกว่า
    เมื่อคุณถ่ายภาพโคลสอัพบุคคล ให้พึงระวังเรื่องการบิดเบือนที่เกิดจากเลนส์ที่อาจจะทำให้ภาพดูไม่ดีได้ เช่น จมูกดูป่องๆ เป็นต้น เพื่อป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ ให้ใช้ระยะโฟกัสยาวๆ ซึ่งระยะโฟกัส 85-135 มม. ถือว่าเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพบุคคล


   ภาพบุคคลเต็มตัว
หากคุณต้องการถ่ายภาพบุคคลเต็มตัว ให้ใส่ใจในเรื่องของฉากหลังมากเป็นพิเศษ โดยฉากหลังที่น่าสนใจนั้นสามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงฉากหลังที่รกรุงรัง เพราะฉากหลังที่รกรุงรังจะดึงความสนใจไปจากตัวแบบ ซึ่งวิธีหนึ่งที่จะช่วยกำจัดฉากหลังที่รกรุงรัง คือ การใช้ขนาดรูรับแสงที่กว้างเพื่อเบลอฉากหลัง และจดจำไว้เสมอว่า หากในภาพที่คุณถ่ายมานั้นมีฉากหลังมากกว่าที่คุณต้องการ คุณสามารถที่จะครอปภาพเพื่อลดฉากหลังลงได้ และการถ่ายภาพในแนวตั้งนั้นเหมาะสมกับการถ่ายรูปบุคคลเต็มตัว



ภาพบุคคลกับสถานที่
สำหรับภาพแบบนี้ ตัวแบบนั้นเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของภาพ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในกรณีที่คุณต้องการเพิ่มเนื้อหาให้กับบุคคลในภาพ ฉากหลังนั้นมีส่วนสำคัญมากสำหรับภาพแบบนี้เพราะจะมีพื้นที่มากที่สุดในภาพ ซึ่งด้วยเหตุผลนี้คุณควรจะใช้รูรับแสงแคบๆเพื่อให้ฉากหลังมีความคมชัด ช่างภาพหลายท่านใช้เลนส์มุมกว้างสำหรับการถ่ายภาพแนวนี้ เพราะเลนส์แบบนี้ทำให้คุณเข้าใกล้แบบได้มากโดยที่ยังสามารถบันทึกภาพฉากหลัง ได้ในพื้นที่มากในเฟรม การจัดองค์ประกอบแบบกฏสามส่วนนั้นมีประโยชน์มากสำหรับภาพแนวนี้ครับ



การถ่ายรูป ติดบัตร




จากที่มีเพื่อนๆสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับการ “ถ่ายรูปติดบัตร” ว่าจัดแสงอย่างไร ผมก็พยายามค้นหาทางอินเตอร์เน็ท ส่วนใหญ่จะพบแต่ว่าวางตำแหน่งไฟอย่างไร ใช้ไฟกี่ดวง ใช้ฉากสีอะไร แต่ไม่เห็นมีใครบอกว่าอัตราส่วนของกำลังไฟเป็นอย่างไร จนผมไปเจอจากเว็บไซต์ของฝรั่งจึงได้นำมาแบ่งปันกันครับ

วัตถุประสงค์ของการถ่ายรูปติดบัตร

วัตถุประสงค์หลักของการถ่ายรูปติดบัตร ก็คือการแสดงว่าบุคคลในรูปนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร มีตำหนิที่เป็นจุดสังเกตได้ตรงไหน เพื่อใช้ในการยืนยันตัวบุคคลว่าเป็นตัวจริง ดังนั้นรูปติดบัตรที่ดีนั้น แสงจะต้องเคลียร์ไม่มีเงามาปิดบังจุดตำหนิต่างๆบนใบหน้า การจะมาเล่นแสงเงาหรือการรีทัชลบรอยแผลเป็น ฝ้า กระ นั้นเก็บเอาไว้สำหรับถ่ายรูปอย่างอื่นดีกว่าครับ (ส่วนการลบสิวและทำผิวเนียนนั้นพอทำได้นะครับ) และฉากหลังจะต้องไม่รก เรียบ ส่วนจะสีอะไรนั้นแล้วแต่หน่วยงานที่เราจะใช้ (ควรจะตรวจสอบเสียก่อนนะครับ ว่ามีข้อบังคับเรื่องสีของฉากหลังหรือไม่ ผมเคยเจอกับตัวตอนไปทำใบอนุญาตทำงานที่มาเลย์เซีย รูปที่ถ่ายไปฉากหลังสีน้ำเงิน แต่เค้าเอาฉากหลังสีขาว ต้องวิ่งไปถ่ายใหม่กันวุ่นวาย และเสียเวลา)

อุปกรณ์สำหรับการถ่ายรูปติดบัตร
(ที่ผมใช้)
1. ไฟแฟลช 3 ดวงพร้อมขาตั้ง (ในที่นี้ผมใช้แฟลชนอก 3 ตัว) หากใช้ไฟแฟลชสตูดิโอ ก็เริ่มต้นด้วยแฟลชกำลังไฟ 80 วัตต์เป็นอย่างน้อย 2 ตัวสำหรับส่องแบบ และ 30 วัตต์สำหรับส่องฉาก
2. ร่มแสงทะลุ 2 อัน (ใครมีร่มสะท้อนก็ใช้ได้นะครับ)
3. กล้องถ่ายรูป (ผมใช้ Canon 5D MKII)
4. Wireless Flash Trigger & Receiver
5. Flash Meter (ผมใช้เพราะจะได้จัดแสงง่ายและแม่นยำ) อุปกรณ์ชิ้นนี้ใครไม่มี ก็ใช้วิธีลองถ่ายแล้วปรับกำลังเอาไฟก็ได้ครับ


การจัดแสงสำหรับการถ่ายรูปติดบัตร


อันนี้ผมเอามาจากเว็บของฝรั่ง วิธีการก็ไม่ยากอะไร เพียงแค่วางตำแหน่งไฟตามภาพ โดยไฟส่องตัวแบบ 2 ดวง วางเฉียงประมาณ 45 องศาในแนวระนาบ แต่จะต่างจากการถ่ายภาพแนวเล่นแสงเงาคือ ตำแหน่งดวงไฟอยู่ในระดับเดียวกับสายตาของแบบ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดเงาขึ้นนั่นเอง ส่วนไฟส่องฉากนั้นก็เพื่อให้ฉากสว่างขึ้น และที่สำคัญยังทำหน้าที่ลบเงาที่เกิดจากไฟหลักทั้งสองดวงอีกด้วย (ผมเคยลองถ่ายด้วยไฟหลักสองดวงมาแล้ว มันเกิดเงาบนฉากขึ้นจริงๆ คราวนี้พอมี 3 ดวงก็สบายครับ) ไฟทุกดวงผมสั่งให้ทำงานโดยใช้ Wireless Flash Trigger & Receiver
คราวนี้มาดูเรื่องสำคัญคือ กำลังไฟของไฟหลักทั้งสองดวง เพื่อไม่ให้เกิดเงาดังนั้นกำลังไฟของไฟหลักจะต้องเท่ากันครับ การกำหนดกำลังไฟผมก็ใช้ Flash meter วัดจนได้เท่ากัน หากไม่มี Flash Meter ก็ต้องลองถ่ายภาพดู แล้วปรับกำลังไฟจนไม่เกิดเงาบนหน้าแบบ ส่วนกำลังไฟส่องฉากนั้นเราก็ลองถ่ายภาพดู ถ้าเห็นว่าฉากสว่างและไม่มีเงาของแบบเกิดขึ้นบนฉากก็เป็นอันใช้ได้ครับ ในภาพตัวอย่างในบทความนี้ผมตั้งกำลังไฟหลักจนได้ที่ f/8 , 1/60s ISO 100 ทั้งสองดวงครับ

การถ่ายรูปติดบัตร

ขั้นตอนสำคัญที่สุดก็คือการถ่ายรูป เพราะหากว่าแค่จัดแสงแต่ไม่ถ่ายรูปก็ไม่มีรูปสิครับ วิธีการสำหรับผมนั้นไม่ยาก โดยผมใช้กล้องในระบบแมนนวล ตั้งค่ากล้องตามค่าที่อ่านได้จาก Flash Meter ส่วนหากใครไม่มีก็ใช้วิธีตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เอาไว้ อาจจะ 1/60 วินาที หรือ 1/125 วินาที หรือ 1/250 วินาที ก็ตามแต่ แล้วลองตั้งค่ารูรับแสงเริ่มที่ f/8 ลองถ่ายภาพดู หากภาพที่ได้สว่างไป ก็ลดขนาดรูรับแสงลด หรือ หากมืดไปก็เพิ่มขนาดรูรับแสง แต่ผมแนะนำว่าการถ่ายภาพแบบนี้ควรจะใช้ f/8 เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ได้ภาพที่มีความชัดลึก จะได้เห็นรายละเอียดบนใบหน้าได้ชัดเจน เพราะฉะนั้นหากลองถ่ายแล้ว f/8 มืดไป ต้องเพิ่มกำลังไฟครับ